วารสารทางวิทยาศาสตร์กำลังจะหายไป

Listen to this article

บทความนี้ชิ้นนี้ อ้างอิงจากงานเขียนของ  Richard Price ผู้ก่อตั้งและซีอีโอของ Academic.edu เว็บไซต์ที่เป็นแหล่งแบ่งปันผลงานวิจัยสำหรับผู้ทำศึกษา

 

Aaron SwartzAaron Swartz  (November 8, 1986 – January 11, 2013)  มุ่งมั่นในแนวคิดที่ให้มีการเข้าถึงบทความทางวิชาการได้อย่างเสรี เขารู้สึกว่ามันไม่ยุติธรรมที่ต้องจ่ายเงินราคาแพงเพื่ออ่านผลงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ ทั้ง ๆ ที่ได้รับเงินอุดหนุนการวิจัยจากเงินภาษีของประชาชน และผู้เสียภาษีก็ไม่อยากที่จะต้องจ่ายเงินถึงสองครั้งเพื่องานวิจัย โดยครั้งแรกเป็นการจ่ายภาษีเพื่ออุดหนุนงานวิจัยและต้องจ่ายเป็นครั้งที่สองเมื่อต้องการอ่านงานวิจัยดังกล่าว

หัวใจของปัญหานี้ก็คือระบบที่อิงอยู่กับความมีชื่อเสียงของวารสารทางวิทยาศาสตร์ชั้นนำของโลก ที่สนับสนุนให้นักวิทยาศาสตร์นำงานเขียนผลงานวิจัยของตนมาเข้าระบบการชำระเงินเพื่ออ่าน  วิถีทางแบบนี้ทำให้เกิดการสร้างระบบที่ใช้วัดความนิยมแบบใหม่

สำหรับการวัดความนิยมในแง่ของวิทยาศาสตร์นั้นก็เช่นเดียวกันกับการวัดความนิยมในโลกออนไลน์ อย่างถ้าเป็น Twitter ก็ดูจาก follower และ การ retweet  หรืออย่าง Facebook ก็ดูจากการกด Like และการ comment  หากเป็น Youtube ก็ดูจากจำนวนผู้เข้าชม  การเริ่มต้นทำเว็บไซต์ Acedemic.edu รวมไปถึง Mendeley  และ ResearchGate แต่ละแห่งก็มีรูปแบบการใช้งานที่ต่างกันออกไป (นอกจากนี้ยังมีเว็บไซต์อื่นที่สำคัญ ๆ  อย่าง PLoS และ Google Scholar) ซึ่งในเว็บไซต์ทั้งสามแห่งนี้มีผู้ใช้งานกว่าสองล้านรายและมีอัตราการเติบโตอย่างรวดเร็ว ในสามถึงสี่ปีนับจากนี้ นักวิทยาศาสตร์บนโลกนี้ทุกคนจะต้องอิงกับระบบใดระบบหนึ่งในสามรูปแบบดังกล่าว

นักวิทยาศาสตร์ต้องการสร้างชื่อเสียงของตนและการวัดความมีชื่อเสียงเบื้องต้นในทางวิทยาศาสตร์ก็คือการที่ผลงานของตนได้รับการตีพิมพ์ลงในวารสารชั้นนำ อย่างเช่น Nature , Science และ The Lancet  เมื่อนักวิทยาศาสตร์ยื่นเรื่องขอลงตีพิมพ์หรือแม้แต่การสมัครงาน พวกเขาต่างรู้ว่ามีนักวิทยาศาสตร์อีกกว่า 200 คนที่กำลังทำแบบเดียวกันกับเขาและคณะกรรมการคัดเลือกผลงานวิจัยของวารสารแต่ละฉบับก็จะต้องทำหน้าที่เฟ้นหาเรื่องที่คิดว่าเหมาะสมที่สุดหรือบุคคลที่เหมาะสมที่สุดสำหรับองค์กร

ทางด้านสำนักพิมพ์ที่ทำธุรกิจวารสารทางวิทยาศาสตร์ก็อาศัยความเป็นเจ้าของระบบชื่อเสียงตรงนี้มาเป็นข้อได้เปรียบ เมื่อนักวิทยาศาสตร์กำลังมองหาวารสารสักเล่มที่สามารถตีพิมพ์ผลงานของเขาได้ สำนักพิมพ์ก็จะให้นักวิทยาศาสตร์ผู้นั้นส่งมอบลิขสิทธิ์การตีพิมพ์ผลงานวิจัยให้กับพวกเขา ซึ่งในกรณีนี้ นักวิทยาศาสตร์ที่เขียนผลงานวิจัยจะไม่ได้รับเงินค่าเขียนผลงานรวมทั้งไม่ได้รับค่าลิขสิทธิ์หากผลงานดังกล่าวมีผู้จ่ายเงินเพื่อซื้ออ่าน

The Lancetเนื่องจากความเป็นเจ้าของวารสารที่มีชื่อเสียงทางวิทยาศาสตร์ ธุรกิจวารสารทางวิทยาศาสตร์จึงสามารถที่จะได้รับลิขสิทธิ์ในการตรวจทานผลงานทางวิทยาศาสตร์ได้ฟรี ทั้ง  ๆ ที่ในความเป็นจริงแล้ว ชุมชนเป็นผู้จัดหาเนื้อหาให้กับธุรกิจวารสาร จากนั้นพวกเขาก็ต้องจ่ายเงินเพื่อให้ได้ผลงานนั้นกลับมาสู่ชุมชน  การที่นักวิทยาศาสตร์ได้จัดการลิขสิทธิ์ของผลงานวิจัยของพวกเขาเข้ากับระบบที่อาศัยความมีชื่อเสียงนั้น นำไปสู่ผลลัพธ์ที่เลวร้ายต่อสังคมในภาพรวม เนื่องจากการต้องจ่ายเงินเพื่อเข้าถึงผลงานวิจัย ผู้คนส่วนใหญ่ของโลกจบลงด้วยการไม่สามารถเข้าถึงงานเขียนทางวิชาการเหล่านี้ทั้งที่พวกเขาเป็นผู้ให้เงินทุนอุดหนุน

 

ดังนั้นเพื่อให้หลุดพ้นจากเรื่องน่าเศร้าที่มีร่วมกันนี้ ระบบการวัดความมีชื่อเสียงแบบใหม่จึงเกิดขึ้นโดยนักวิทยาศาสตร์กลุ่มหนึ่งต้องการแบ่งปันผลงานวิจัยของพวกเขาโดยเสรี มากกว่าที่จะเอาผลงานวิจัยไปอยู่กับระบบที่ต้องจ่ายเงินเพื่ออ่าน และวัดความนิยมจาก การนับจำนวนการอ้างอิงบทความดังกล่าว จำนวนผู้อ่านและจำนวนผู้ติดตามผลงาน

การวัดจำนวนการอ้างอิงบทความ : สองสามปีที่ผ่านมา Google Scholar เริ่มแสดงจำนวนการอ้างอิงบทความสำหรับงานวิจัย ซึ่งเป็นการนับจำนวนความถี่ที่งานวิจัยดังกล่าวได้รับการอ้างอิงถึง นักวิทยาศาสตร์อาศัยจำนวนการอ้างอิงนี้เป็นสิ่งชี้วัดให้เห็นถึงผลสะท้อนในงานของตนและนำมามาใช้ในงานรวมทั้งการสมัครงานของตนหรือขอทุนวิจัย  สำหรับในบางสาขาอย่างเช่นฟิสิกส์ นักวิทยาศาสตร์มีความภาคภูมิใจที่จะเห็นจำนวนการอ้างอิงถึงรายงานของตนมากกว่าที่จะบอกว่ารายงานดังกล่าวได้รับการตีพิมพ์ในวารสารชื่อดัง

acedemic.eduการวัดความความสัมพันธ์กับผู้อ่าน : Academic.edu, Mendeley และ ResearchGate  กำลังช่วยให้นักวิทยาศาสตร์เข้าใจเรื่องการวัดความสัมพันธ์ของผู้อ่านกับงานวิจัยของพวกเขา เว็บไซต์เหล่านี้กำลังบอกกับผู้ศึกษาว่ามีผู้คนจำนวนเท่าไหร่ที่กำลังอ่านงานของพวกเขาอยู่ บางเว็บไซต์ถึงขนาดระบุข้อมูลเจาะจงลงไปได้ถึงตำแหน่งที่อยู่ของผู้อ่านได้ด้วย

การนับจำนวนผู้ติดตามผลงาน : นักวิทยาศาสตร์กำลังมีความต้องการเพิ่มขึ้นในการติดต่อกับผู้อ่านงานของพวกเขาโดยตรง  โดย Twitter และ Facebook รวมทั้งเว็บไซต์อื่น ๆ ได้เปิดให้ผู้สร้างเนื้อหาติดต่อปฏิสัมพันธ์ได้โดยตรงกับผู้อ่าน การสร้างแบรนด์ส่วนตัวของนักวิทยาศาสตร์ค่อย ๆ เริ่มเข้ามาบดบังเรื่องแบรนด์ของวารสารชื่อดังแล้วและการนับจำนวนผู้ติดตามผลงานยังช่วยให้นักวิทยาศาสตร์เข้าใจถึงการเติบโตในเรื่องความเป็นแบรนด์เฉพาะบุคคล

เมื่อก่อนนี้วารสารทางวิทยาศาสตร์ชื่อดังนั้นถือว่าเป็นสิ่งบ่งบอกชื่อเสียงของนักวิทยาศาสตร์ที่มีผลงานลงตีพิมพ์เกือบ 100% แต่ตัวเลขดังกล่าวในปัจจุบันลดลงมาเหลือเพียง 90% เห็นจะได้ ซึ่ง 10% ที่หายไปนั้นก็กลายมาเป็นระบบการวัดแบบใหม่ที่กล่าวถึงในตอนต้น และเมื่อมีระบบการวัดความสำคัญแบบใหม่เกิดขึ้น ความมีชื่อเสียงของวารสารก็จะลดลงอย่างมีนัยสำคัญที่สัมพันธ์กัน ในไม่ช้าเราจะไปถึงจุดที่ว่า วารสารชื่อดังจะมีความสำคัญต่อความมีชื่อเสียงของนักวิทยาศาสตร์เพียงแค่ 10% เท่านั้น

ในส่วนของต้นทุนการตีพิมพ์งานวิจัยสักเรื่องหนึ่งนั้นมีความสำคัญทั้งในแง่ของผลที่ตามมาและเม็ดเงิน  วารสารนั้นใช้ระยะเวลายาวนานกว่าจะตีพิมพ์โดยค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 12 เดือนตั้งแต่ส่งเรื่องจนกระทั่งได้รับการตีพิมพ์ ซึ่งระยะเวลา 12 เดือนนี้ไม่ได้ส่งผลในแง่คุณค่าใดๆ  กับนักวิทยาศาสตร์เลย

สนับสนุนการทำบทความ กดไลค์ กดแชร์ หรือสามารถบริจาคเงินเพื่อเป็นกำลังใจให้กับเราได้ที่
ธนาคารไทยพาณิชย์: สาขามหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ชื่อบัญชี : HEROTHAILAND.COM
บัญชี : ออมทรัพย์ เลขที่บัญชี : 667-265599-4

Similar Articles

Comments

พื้นที่ลงโฆษณา

สนใจลงโฆษณา ติดต่อ herothailand.com ราคาเพียง 500 บาทต่อปี

Advertisement

โปรโมชั่น 2 ขวด Protriva Black seeds อาหารเสริมน้ำมันงาดำ จำนวน 2 ขวด

Royal Kludge RK68

Royal Kludge RK68 RGB Hotswap USB HUB คีย์บอร์ดเกมมิ่งคีย์ไทย ไร้สายบลูทูธและมีสาย เปลี่ยนสวิตซ์ได้ เลเซอร์ไทย - English

Most Popular

Advertisement SHOPEE THAILAND

บ้านน้องแมว ทำจากไม้