admin

Advertismentspot_img

ดาวเทียมกับขยะอวกาศ

ประเด็นก็คือ ดาวเทียมที่ไม่ใช้งานแล้วจะกลายเป็นขยะอวกาศล่องลอยในวงโคจรด้วยความเร็ว 7.8 กิโลเมตรต่อวินาที !!! ซึ่งด้วยความเร็วขนาดนี้หากไปเฉี่ยวชนกับดาวเทียมดวงอื่นหรือชนเข้ากับสถานีอวกาศก็อาจก่อให้เกิดความเสียหายอย่างใหญ่หลวง เราก็พอจะมองเห็นแนวโน้มแล้วว่าจะมีดาวเทียมที่ไม่ใช้งานและดาวเทียมที่ใช้งานเพิ่มมากขึ้นไปเรื่อย ๆ จากการที่ต้นทุนไปอวกาศต่ำลง ความน่าจะเป็นในการเกิดการเฉี่ยวชนก็จะต้องเพิ่มขึ้นอย่างแน่นอน ถึงแม้ดาวเทียมเองจะมีเชื้อเพลิงสำรองไว้เพื่อการเปลี่ยนแปลงวงโคจรหรือหลบเลี่ยงการเฉี่ยวชนกับขยะอวกาศอื่น ๆ ก็ตามที หากเราจะไปดวงจันทร์แต่ดันมาโดนขยะอวกาศชนกระสวยอวกาศจนเกิดความเสียหายต้องยกเลิกภาระกิจ เราจะยังกล้าคิดถึงเที่ยวบินไปดาวอังคารลำดับต่อไปได้หรือ มนุษย์จะถูกขังไว้แต่เพียงบนโลกด้วยขยะอวกาศที่สร้างขึ้นมาห้อมล้อมโลกจากน้ำมือของพวกเขาเอง ?

อะไรแทนดอลลาร์สหรัฐฯได้บ้าง

วิกฤติในปี 2008 มีการอัดฉีดเม็ดเงินจำนวน 1.25 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เข้าสู่ระบบเศรษฐกิจในประเทศสหรัฐฯ นั่นทำให้ผู้คนกังวลเกี่ยวกับเงินเฟ้อมากขึ้น พวกเขาจึงหันมาถือครองโลหะมีค่าอย่างทองคำและเงินในสัดส่วนที่เพิ่มขึ้น อิหร่านเลิกขายน้ำมันเป็นดอลลาร์สหรัฐฯ แล้วหันไปรับชำระเป็นสินค้าโภคภัณฑ์แทน อย่างการขายน้ำมันให้กับตุรเกียพวกเขารับเป็นเงินลีราตุรเกีย จากนั้นก็ใช้เงินดังกล่าวซื้อทองคำในตุรเกียแล้วส่งออกทองคำกลับไปที่อิหร่าน หากจะพูดให้ง่าย ๆ ก็คือขายน้ำมันแลกกับทองคำนั่นเอง อินเดียก็ทำเช่นเดียวกันนี้ ที่น่าจับตาก็คือจีน มีการเปลี่ยนแปลงสัดส่วนการถือครองพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ พวกเขากำลังสะสมทองคำเพิ่มขึ้นและลดการถือครองพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ  การถือครองทองคำของจีน จาก 700 ตัน ค่อย ๆ ขยับมาเป็นเกือบ 6,000 ตัน

ขยะอิเล็กทรอนิกส์ (e-waste)

แน่นอนว่าหากเราจัดการต้นตอการนำเข้าขยะอิเล็คทรอนิกส์ย่อมเป็นเรื่องที่ดีมาก แต่ในความเป็นจริงก็จะส่งผลกระทบต่อเนื่องไปยังผู้คนอื่น ๆ อีกนับหลายพันคน ทำให้คนตกงานจำนวนมาก ที่เมือง Agbogbloshie หลายครอบครัวมีข้าวกินก็ด้วยการทำงานเกี่ยวกับพวกนี้ พวกเขาเผามันเพื่อเอาทองแดง ตัดเอาอลูมิเนียม เหล็ก หรือว่าโลหะอย่างอื่น รัฐบาลเองก็กลัวฐานคะแนนเสียงจะหายไปเช่นกัน วัยรุ่นคนหนึ่งที่ทำงานที่นี่บอกว่า "เราหยุดไม่ได้ บางคนต้องเข้าโรงพยาบาลเพราะเป็นมะเร็ง และถึงแม้พวกเขาเป็นมะเร็งก็หยุดงานไม่ได้ ถ้าหยุดทำงานเมื่อไหร่ ก็ไม่มีเงินไปซื้ออะไรกิน "

Agrivoltaic Systems

ในภาพรวมประชากรโลกในปัจจุบันมีราว ๆ 7.8 พันล้านคน ภายใน 30 ปีนับจากนี้ ประชากรโลกจะเพิ่มขึ้นเป็น 9.8 ล้านคน การเพิ่มของประชากรก็อาจจะไม่ได้เพิ่มขึ้นในสัดส่วนที่เท่ากันทุกประเทศ บางประเทศอัตราการเกิดต่ำ ประเทศเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุทำให้ขาดแคลนแรงงาน แต่หากตัวเลขประชากรเพิ่มขึ้น คนเราก็ต้องกินต้องใช้เพิ่มขึ้น แล้วเราจะหาอาหารจากไหนมาป้อนให้ชาวโลกที่เพิ่มขึ้น หาน้ำจากไหนมาหล่อเลี้ยงประชากรโลกที่เพิ่มขึ้น อย่าว่าแต่ประชากรโลกเพิ่มขึ้นเลยต่อให้จำนวนประชากรโลกยังเท่าเดิมแต่ผลิตอาหารได้เท่าเดิมและยังขาดแคลนน้ำอีก ก็ต้องแก่งแย่งกัน เกิดความขัดแย้งในภูมิภาคต่างๆ ส่งผลกระทบออกมาเป็นวงกว้าง ทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสังคม สุขอนามัย ก่อนที่อะไร ๆ จะสายเกินไป ผู้คนต่างก็คิดหาวิธีการต่าง ๆ เพื่อลดปัญหาโลกร้อน ปัญหาภัยแล้ง ปัญหาการขาดแคลนอาหาร และในบทความนี้เราจะพูดถึงเรื่อง Agrivoltaic Systems

สมองไหล ?

ประเทศพัฒนาแล้วสามารถเลือกได้ว่าพวกเขาต้องการคนทำงานที่มีทักษะหรือคนเก่ง ๆ จำนวนเท่าไหร่เข้าสู่ระบบเศรษฐกิจด้วยการเพิ่มหรือลดจำนวน VISA แต่นี่ทำให้ประเทศที่แรงงานสมองไหลจากมาเจ็บปวดไม่ใช่น้อย เพราะหมายถึงการที่ประเทศเพิ่งจะเสียคนเก่ง ๆ ทำงานมีประสิทธิภาพไป โดยที่พวกเขาเหล่านั้นก็เป็นกลุ่มคนที่มีแนวโน้มจะเสียภาษีให้ประเทศมากที่สุด สร้างมูลค่าให้ประเทศมากที่สุดและมีโอกาสสูงที่จะขับเคลื่อนนวัตกรรมใหม่ ๆ ออกมาเพื่อทำให้ประเทศมีรายได้มากขึ้นกว่าเดิม แล้วยังเป็นการดึงเอาศักยภาพของแรงงานออกไปจากสังคมผู้สูงอายุ ประเทศที่ลงทุนไปกับการฟูมฟักเด็กเล็ก ๆ แต่แล้วพวกเขาก็ไม่ได้รับอะไรกลับมาจากการลงทุนนั้นอย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย

การค้าเสรี (หรือเปล่า ?)

สิ่งที่ดีของโลกการค้าเสรีก็คือ มันเป็นการนำคนมารวมกันโดยที่ไม่ขึ้นอยู่กับเชื้อชาติ ศาสนา แต่ทว่ามันก็นำไปสู่การสร้างผู้ชนะเพียงแค่หยิบมือ ซึ่งก็หมายถึงการมีคนจนอีกมากมายต้องเป็นผู้แพ้ หากคนจนเหล่านั้นไม่สามารถสร้างตัวเองขึ้นมา พึ่งพาตัวเองได้หรือไม่ได้รับการดูแลช่วยเหลือจากรัฐแล้วเพื่อให้พร้อมต่อการแข่งขันที่เปิดกว้าง โลกการค้าเสรีก็ไม่ได้สร้างประโยชน์อะไรให้กับประเทศและจะยิ่งโหดร้ายกับคนที่ไม่มีความพร้อมและทำให้ภาคเศรษฐกิจไม่ว่าจะเป็นภาคอุตสาหกรรมหรือว่าการเกษตรล่มสลายลงได้ภายในะระยะเวลาไม่นาน

วิกฤติน้ำในเอเชีย

เมื่อเราพูดถึงความมั่นคงของน้ำในเอเชียนั้น ภาวะโลกร้อนรวมถึงการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศล้วนส่งผลกระทบอย่างใหญ่หลวงด้วยเช่นกัน ตัวอย่างเช่น เมื่อเร็ว ๆ นี้ หลายพื้นที่ในจีนและเอเชียแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่อาจส่งผลให้เกิดความแห้งแล้งในหลายพื้นที่ จากที่ฝนตกอยู่เป็นประจำกลับกลายเป็นแล้ง ภัยแล้งนี้กำลังทำลายล้างเอเชียใต้ในทุก ๆ ปี โดยประเทศที่ได้รับผลกระทบรุนแรงสุดก็คือปากีสถาน อินเดีย บังคลาเทศ อัฟกานิสถาน เนปาล ภูฏาน ประเทศเหล่านี้ตกเป็นผู้ได้รับผลกระทบที่รุนแรงที่สุดจากภัยแล้ง นอกจากจะเป็นการทำลายพื้นที่เกษตรกรรมแล้วยังเพิ่มจำนวนประชากรที่ขาดแคลนน้ำซึ่งพวกเขาไม่สามารถเข้าถึงแหล่งน้ำสะอาดได้ ทำให้เกิดภาวะตึงเครียดทางสังคมตามมา

เครื่องซักผ้าหรืออินเตอร์เน็ต

ย้อนกลับไปในศตวรรษที่ 19 และ 20 สังคมคาดหวังว่าผู้หญิงจะต้องเป็นคนรับผิดชอบดูแลงานบ้านเป็นหลัก ไม่ว่าจะเป็น ทำกับข้าว ซักเสื้อผ้า ทำความสะอาดบ้าน ซึ่งศาสตราจารย์ชาง ได้นำเสนอว่าเมื่อมีการประดิษฐ์คิดค้นเครื่องซักผ้าขึ้นมาก็ทำให้ผู้หญิงมีเวลาว่างมากขึ้นและสามารถเข้าสู่ตลาดแรงงานที่พวกเธอสามารถหารายได้จากน้ำพักน้ำแรงของตัวเอง ซึ่งการที่ทำให้ผู้หญิงเป็นอิสระจากงานบ้านมากขึ้นนี้เอง ทำให้มีตลาดแรงงานขยายตัวออกไป นอกจากแรงงานชายแล้วก็มีแรงงานหญิงเพิ่มเติมเข้ามาในระบบ ทำให้มีการผลิตเพิ่มขึ้นพร้อมทั้งช่วยต้นทุนการผลิต รวมถึงเมื่อผู้หญิงมีรายได้ ก็เท่ากับมีอำนาจซื้อใหม่เพิ่มเข้ามา ทำให้เกิดการสร้างตลาดเซกเม้นท์ใหม่ขึ้นมาเพื่อรองรับความต้องการของผู้หญิง ส่งผลให้เศรษฐกิจโดยรวมมีการเติบโต

admin

Advertismentspot_img